เครื่องให้อาหารปลายี่ห้อไหนดี 2024

ปลา เป็นอีกหนึ่งในลิสต์ของสัตว์เลี้ยง ที่คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไว้ ไม่ว่าจะเลี้ยงเพื่อดูเล่น เลี้ยงเพื่อจำหน่าย หรือเลี้ยงเพื่อความเป็นสิริมงคลและโชคลาภ ชนิดของปลาที่นิยมเลี้ยงในเมืองไทย ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาการ์ตูน ปลาทอง ปลาคาร์ฟ เป็นต้น ซึ่งปลาเหล่านี้ต้องมีการดูแลเอาใจใส่ที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของสภาพน้ำ สภาพอากาศ ประเภทของปลาที่เลี้ยงรวมกันได้ และที่สำคัญคือเรื่องของอาหารปลา

ที่นอกจากจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของสายพันธุ์และขนาดแล้ว ความถี่ในการให้อาหารปลาก็ยังนับเป็นปัจจัยที่มีส่วนต่อการเจริญเติบโตของปลาอีกด้วย ดังนั้นหากมีช่วงไหนที่คุณจำเป็นต้องไปธุระนอกบ้านหลายวัน การจะปล่อยให้ปลาของเราอดอาหารนั้นคงไม่ดีอย่างแน่นอน ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะขอแนะนำเครื่องให้อาหารปลา ที่เป็นระบบอัตโนมัติสามารถใช้งานได้ทั้งปลาในตู้และปลาในบ่อ ทั้งยังสามารถกำหนดปริมาณและเวลาในการให้อาหารได้อีกด้วยค่ะ

6 เครื่องให้อาหารปลา

1. โดยรวมที่ดีที่สุดShyfish Feeder Lazada/ Shopee
2. ขนาดใหญ่ที่ดีที่สุด
Bonetar​ BT008 Lazada/Shopee
3. ขนาดเล็กที่ดีที่สุดFeed Me Nano 2 Lazada/Shopee
4. พรีเมียมที่ดีที่สุดSaturday Auto Feeder Shopee
5. อัตโนมัติที่ดีที่สุด: Jebao Feeder Lazada/Shopee
6. เชื่อมต่อ WIFI ที่ดีที่สุด: Petrobot PF-1 Lazada/Shopee

6 อันดับเครื่องให้อาหารปลาในปี 2024

1. Shyfish Feeder

เครื่องให้อาหารปลาโดยรวมที่ดีที่สุด

ข้อดี
  • ดีไซน์ทันสมัย สวยงาม
  • ราคาย่อมเยา
  • เหมาะกับตู้ปลาหรือโหลปลาขนาดเล็ก
ข้อเสีย
  • ไม่สามารถใช้กับอาหารที่มีเม็ดขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตรได้
  • ต้องมีการชาร์จไฟบ้าน

สำหรับเครื่องให้อาหารปลาดีไซน์สวยทันสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่สไตล์มินิมอลจาก Shyfish Feeder ตัวนี้ มาในโทนสีขาวสะอาดตา เข้ากับตู้ปลาได้ทุกแบบ ทุกรูปทรง ทั้งยังมีระบบการทำงานอัตโนมัติ แสดงเวลาบนหน้าจอดิจิตอล ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนและยังรู้เวลาในการทำงานได้อีกด้วย ข้างหน้าจอแสดงเวลามีปุ่มเล็ก ๆ สำหรับตั้งค่าง่าย ๆ 4 ปุ่ม 

ตัวเครื่องออกแบบมาเป็นแนวตั้ง ทำให้ง่ายต่อการเทอาหารเติมลงในถังเก็บอาหาร เหมาะกับอาหารปลาแบบเม็ดที่มีขนาด 1 -5 มิลลิเมตร ใช้งานกับตู้ปลาหรือโหลปลาขนาดเล็กที่เลี้ยงปลาสวยงามตัวเล็ก – ปานกลาง เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาการ์ตูน ปลาทอง เป็นต้น ตัวถังเก็บอาหารปลามีความจุรวม 2 กรัม และสามารถฟีดอาหารได้ 0.2 กรัมต่อรอบ นอกจากนี้ยังติดตั้งง่าย เพราะมีตัวล็อคแบบหมุน สามารถเลื่อนเข้าออกได้ตามขนาดตู้ปลาอีกด้วยค่ะ 

2. Bonetar​ – BT008

เครื่องให้อาหารปลาขนาดใหญ่ที่ดีที่สุด

ข้อดี
  • ช่องเก็บอาหารขนาดใหญ่ 10 ลิตร
  • ใช้ถ่านเป็นแหล่งพลังงาน ไม่ต้องเสียบชาร์จไฟบ้านบ่อย ๆ
  • เหมาะกับบ่อเลี้ยงปลา
  • สามารถใช้กับอาหารเม็ดขนาดใหญ่ได้
  • ออกแบบที่ปล่อยอาหารให้ป้องกันความชื้นและหนู
ข้อเสีย
  • ไม่สามารถใช้กับถ่านชาร์จได้
  • ต้องหาที่วางอย่างมั่นคง และป้องกันไม่ให้ตัวเครื่องโดนน้ำ

บ้านที่มีบ่อปลาสำหรับเลี้ยงปลาขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ เช่น ปลาทอง ปลาคาร์ฟ หรือเป็นฟาร์มปลาเชิงพาณิชย์ หากกำลังมองหาเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติที่มีขนาดพอดีในการใช้งานกับบ่อเลี้ยงปลา เราขอแนะนำ Bonetar​ รุ่น BT008 ซึ่งเป็นเครื่องให้อาหารปลาระบบอัตโนมัติที่มีความจุขนาดใหญ่กว่า 10 ลิตร ช่วยให้ไม่ต้องเติมอาหารปลาบ่อย ๆ และยังมีช่องเก็บอาหารรวมถึงช่องให้อาหารปลาที่ออกแบบมาให้ป้องกันความชื้นได้อย่างดี

ตัวที่ปล่อยอาหารปลาอยู่ด้านล่างและหย่อนลงน้ำโดยตรง เพื่อป้องกันหนูมาขโมยกิน ทั้งยังมีที่กันฝนป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าในถังเก็บอาหารได้ด้วย ในด้านของฟังก์ชันการทำงาน เครื่องให้อาหารปลารุ่นนี้สามารถตั้งเวลาได้ถึง 24 ชม. และอ่านค่าได้จากหน้าจอ LCD ขนาดเล็ก ใช้พลังงานเป็นถ่านอัลคาไลน์ 4 ก่อน แต่ไม่ควรให้ถ่านชาร์ตเพราะจะทำให้ระบบรวนได้ค่ะ 

3. Feed Me Nano 2

เครื่องให้อาหารปลาขนาดเล็กที่ดีที่สุด

ข้อดี
  • ขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะกับตู้ปลาหรือโหลปลาเล็ก ๆ
  • เสียบใช้ไฟบ้านได้โดยตรง
  • วัสดุตัวถังเก็บอาหารสามารถกันความชื้นได้
  • ที่ปล่อยอาหารโค้งงอ ประกันการกระเด็น
ข้อเสีย
  • ต้องระมัดระวังในการใช้งาน ไม่ให้น้ำโดนสายไฟและตัวเครื่อง

เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ Feed Me Nano 2 เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมเครื่องให้อาหารปลาที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะกับการใช้งานสำหรับตู้ปลาหรือโหลขนาดเล็ก สามารถปรับล็อคติดตั้งกับกระจกที่ความหนาสูงสุด 12 มิลลิเมตร ถึงจะมีขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ แต่สามารถจุอาหารปลาได้จำนวนมาก

โดยเม็ดอาหารปลาขนาดเล็กสุดคือ 0.5 มิลลิเมตร ตัวระบบเครื่องปรับได้ 2 ช่วงเวลาคือ แบบ 12 ชั่วโมงและแบบ 24 ชั่วโมง แต่หากใครอยากได้ชั่วเวลาที่ถี่กว่านี้ก็สามารถแจ้งอินบ็อกให้ทางร้านได้โดยตรงเลยค่ะ นอกจากนี้ตัวที่เก็บอาหารยังผลิตจากวัสดุกันความชื้นและสำหรับรุ่นใหม่ Nano 2 นี้ยังออกแบบที่ปล่อยอาหารปลา ให้งอลงน้ำโดยป้องกันการกระเด็นของน้ำเข้าสู่ตัวเก็บอาหาร จึงมั่นใจว่าอาหารจะไม่ขึ้นราและคงคุณค่าเสมอ ตัวแหล่งพลังงานใช้ไฟบ้าน จึงสะดวกและประหยัดได้อย่างมากเลยค่ะ

4. Saturday Auto Feeder

เครื่องให้อาหารปลาพรีเมียมที่ดีที่สุด

ข้อดี
  • ถังเก็บอาหารปลาขนาดใหญ่ 12 ลิตร
  • เสียบใช้ไฟบ้านได้โดยตรง
  • วัสดุตัวถังเก็บอาหารคุณภาพดี สามารถกันความชื้นได้
  • ที่ปล่อยอาหารเป็นท่อขนาดใหญ่ ใช้ได้กับอาหารเม็ดใหญ่และปลายโค้งลงในน้ำป้องกันการกระเด็น
  • มีระบบสำรองไฟ ไม่ต้องเซตระบบใหม่แม้ไฟดับ
  • ตั้งค่าการให้อาหารปลาได้  16 ครั้งต่อวัน
ข้อเสีย
  • ราคาค่อนข้างสูง เหมาะกับฟาร์มปลาหรือผู้เลี้ยงปลาเพื่อการพาณิชย์ 

เจ้าของฟาร์มปลาที่กำลังมองหาเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ ที่เหมาะกับการเลี้ยงปลาเชิงพาณิชย์ สำหรับใช้งานอย่างมืออาชีพอยู่ SATURDAY AUTO FEED เป็นเครื่องให้อาหารปลาที่ใช้ระบบกลไกอัตโนมัติในการฟีดอาหารปลาได้ตามเวลาที่คุณกำหนดสูงสุดถึง 16 ครั้งต่อวัน ทั้งยังสามารถตั้งวันที่ต้องการให้หรือหยุดให้อาหารปลาได้อีกด้วย

มาพร้อมกับถังเก็บอาหารปลาขนาดใหญ่ความจุ 12 ลิตร ที่ใช้วัสดุคุณภาพดี ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ไม่ทำให้อาหารเกิดความชื้น เหมาะกับเม็ดอาหารปลาเม็ดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารปลาคาร์ฟ หรือแม้แต่ปลาช่อนหรือปลาตะเพียน ตัวเครื่องใช้ระบบไฟฟ้า ต่อเข้ากับไฟบ้านขนาด 220 โวลต์ได้เลย ไม่ต้องแปลงไฟให้ยุ่งยาก นอกจากนี้เครื่องให้อาหารปลารุ่นนี้ยังมีระบบสำรองไฟ เป็นแบตเตอรี่ในตัว ไม่ต้องกังวลเมื่อไฟดับ และไม่ต้องมาคอยเซตเวลาใหม่ด้วยค่ะ

5. Jebao feeder

เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติที่ดีที่สุด

ข้อดี
  • ตัวเครื่องขนาดพอดี ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป
  • ใช้แหล่งพลังงานเป็นถ่านขนาด C ใช้งานได้นาน 3 เดือน
  • หน้าจอ ดิจิตอลแสดงผลแจ้งเตือน
  • ตั้งค่าการให้อาหารปลาได้  6 ครั้งต่อวัน
ข้อเสีย
  • ช่องปล่อยอาหารเป็นแบบถาดลาดลง เสี่ยงต่อการโดนหนูมาขโมยกิน

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ หลายบ้านนิยมเลี้ยงปลาคาร์ฟในบ่อขนาดย่อมไว้ทั้งหน้าบ้านหรือในตัวบ้าน และปลาคาร์ฟก็ยังเป็นปลาที่กินค่อนข้างจุ โดยวันหนึ่งจะกินอาหารหลายเวลา เฉลี่ยวันละ 6 -7 รอบ ดังนั้นหากต้องคอยมาให้อาหารปลาตลอด ก็อาจทำให้เสียเวลาได้ ดังนั้นการใช้ผู้ช่วยอย่างเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ หลายบ้านนิยมเลี้ยงปลาคาร์ฟในบ่อขนาดย่อมไว้ทั้งหน้าบ้านหรือในตัวบ้าน และปลาคาร์ฟก็ยังเป็นปลาที่กินค่อนข้างจุ โดยวันหนึ่งจะกินอาหารหลายเวลา เฉลี่ยวันละ 6 -7 รอบ ดังนั้นหากต้องคอยมาให้อาหารปลาตลอด ก็อาจทำให้เสียเวลาได้ ดังนั้นการใช้ผู้ช่วยอย่างเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ

6. Petrobot PF-1

เครื่องให้อาหารปลาเชื่อมต่อ WIFI ที่ดีที่สุด

ข้อดี
  • ตัวเครื่องขนาดเล็กกะทัดรัด เหมาะกับตู้ปลาหรือโหลปลา
  • งานสะดวกสบายมากขึ้น โดยการสั่งการผ่านแอปพลิเคชันทั้งระบบ iOS และ Android
  • ตั้งค่าการให้อาหารปลาได้  30 ครั้งต่อวัน
  • ใช้ไฟบ้าน และมีไฟแสดงสถานะ
ข้อเสีย
  • ต้องมีการเชื่อมต่อสัญญาน Wifi อยู่ตลอดเวลา

ล้ำได้อีก กับเครื่องให้อาหารปลาแบบอัตโนมัติที่สั่งการผ่าน Wifi ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปที่ไหน เพียงแค่เปิด Wifi ที่บ้านไว้ เจ้าเครื่องให้อาหารปลาตัวนี้ก็สามารถทำงานได้ผ่านแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Alexa ใช้ได้ทั้งระบบ iOS และ Android เลยล่ะค่ะ ความพิเศษของเครื่องให้อาหารปลาขนาดจิ๋วยังไม่หมดเท่านี้ เพราะเขาสามารถตั้งค่าการให้อาหารปลาได้ถึงวันละ 30 ครั้ง ผ่านการตั้งเวลาในแอปหรือจะกดสั่งให้อาหารปลาในขณะนั้นเลยก็ยังได้

ด้วยความจุของถังเก็บอาหารขนาด 170 มิลลิลิตร สามารถจุอาหารได้ 140 -160 กรัม เหมาะกับอาหารเม็ดเล็ก มีช่องสำหรับใส่และปล่อยอาหารปลาเป็นที่เดียวกัน คุณสามารถควบคุมปริมาณการให้อาหารปลาแต่ละครั้งได้จากช่องนี้ ส่วนกลไกการทำงานนั้นจะใช้แหล่งพลังงานจากไฟบ้าน และเมื่อได้คำสั่งเครื่องจะหมุนครบรอบ อาหารจะถูกปล่อยลงมาจากช่องให้ปล่อยอาหารปลา สามารถติดตั้งเข้ากับกระจกตู้ปลาได้ง่าย ๆ เพราะมีฐานวางแถมมาให้ด้วยค่ะ

คู่มือการซื้อ เครื่องให้อาหารปลา

คู่มือการซื้อ เครื่องให้อาหารปลา

หลังจากได้เลือกดูผลิตภัณฑ์เครื่องให้อาหารปลาแต่ละแบบไปแล้ว ต่อจากนี้เราจะมาแนะนำทริคการเลือกซื้อเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติที่เหมาะสมกับการใช้งานหลากหลายแบบกัน ดังนี้ค่ะ

คุณต้องการเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติหรือไม่

เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณในเวลาที่ต้องเดินทางไปทำธุระหลายวัน ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องกังวลเรื่องของการให้อาหารสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังใช้งานง่ายและตั้งค่าได้หลากหลายรูปแบบอีกแล้ว แม้จะมีราคาในหลักร้อยถึงหลักพันบาท 

แต่ในแง่การใช้ประโยชน์ระยะยาวก็นับว่าคุ้มค่า ทั้งในแง่ของารประหยัดเวลาและยังทำให้ปลามีสุขภาพดี เพราะได้กินอาหารเพียงพอและตรงเวลาอีกด้วย ดังนั้นจึงเหมาะอย่างมากสำหรับคนที่ไม่มีเวลาหรือต้องเดินทางบ่อย ๆ  

วิธีการเลือกเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ

การเลือกซื้อเครื่องให้อาหารปลา จะคำนึงถึง 2 หลักการใหญ่ ๆ คือ ขนาดของถังเก็บอาหารและขนาดตัวเครื่อง และการควบคุมเวลารวมถึงปริมาณในการให้อาหารแต่ละรอบ ซึ่ง 2 เรื่องนี้จะถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการเลี้ยงปลาต่างชนิดและต่างพื้นที่กัน ดังนี้ค่ะ

  • ขนาด กล่าวถึงขนาดหมายถึงขนาดของถังเก็บอาหารปลา เพราะเป็นส่วนหลักของตัวเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติ หลัก ๆ แล้วแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ เครื่องให้อาหารปลาขนาดใหญ่ ที่เหมาะกับบ่อปลา ซึ่งจะมีถังเก็บอาหารขนาดมากกว่า 5 ลิตรขึ้นไป และเครื่องให้อาหารปลาขนาดเล็ก ที่เหมาะกับตู้ปลาหรือโหลปลา มีถังเก็บอาหารปลาขนาดเล็กกว่า 1 ลิตร เพราะส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้กับกระจกตู้ปลาโดยตรง 
  • ตัวควบคุมเวลาและปริมาณ ตัวควบคุมเวลาการให้อาหารปลาเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่ผู้ซื้อไม่ควรมองข้าม เพราะมีผลโดยตรงต่อสายพันธุ์ปลาที่คุณเลี้ยง เพราะปาแต่ละพันธุ์มีความต้องการอาหารในปริมาณและความถี่แตกต่างกัน กล่าวคือ หากเป็นปลาหางนกยูง ปลาทอง ก็สามารถให้วันละ 2 เวลาได้ ก็ซื้อแบบที่สามารถตั้งเวลาได้วันละ 2 รอบก็ไม่มีปัญหา แต่หากเป็นปลาคาร์ฟ ที่ต้องกินอาหารวันละหลายรอบก็ควรซื้อแบบที่สามารถให้อาหารได้วันละหลายรอบ (6 รอบขึ้นไป) เป็นต้น
  • ใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติของคุณ ถ้าคุณได้ซื้อเครื่องให้อาหารปลาแบบอัตโนมัติมาแล้ว ในช่วงที่คุณอยู่บ้าน อาจจะยังมองไม่เห็นประโยชน์ของเจ้าเครื่องนี้มากนัก เพราะจริง ๆ เราก็สามารถให้อาหารปลาเองได้ แต่หากวันไหนที่คุณมีธุระหรือหลงลืมคุณจะรับรู้ถึงประโยชน์ของเครื่องให้อาหารปลาได้อย่างดี และเพื่อให้เครื่องให้อาหารปลาทำงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด เรามาตรวจสอบตามวิธีเหล่านี้กันค่ะ
  • เลือกสถานที่อย่างระมัดระวัง สำหรับโหลปลาหรือตู้ปลา แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะตั้งไว้ในบ้านซึ่งจะไม่ต้องกังวลกับการโกนฝนหรือความชื้นมากนัก แต่ถึงอย่างไรการติดตั้งเครื่องให้อาหารปลาก็ควรติดตั้งอย่างมั่นคงแข็งแรงและถูกวิธี ไม่ควรติดชิดกับผิวน้ำมากเกินไป เพราะอาจทำให้น้ำกระเด็นโดนเครื่องได้ และสำหรับบ่อปลาที่อยู่นอกบ้าน หากไม่มีหลังคากันฝน คุณควรหาวัสดุหรือทำหลังคาเล็ก ๆ เพื่อป้องกันเวลาฝนตก และที่สำคัญควรวางเครื่องให้อาหารปลาในอยู่ขอบบ่อ โดยต้องมีฐานรองที่มั่นคงแน่นหนา เพราะอย่าลืมว่าคุณต้องใส่อาหารปลาที่มีน้ำหนักมากลงไปด้วย นอกจากนี้ควรตรวจสอบปลั๊กไฟและเต้าเสียบให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานและไม่เสี่ยงต่อการถูกน้ำฝนหรือน้ำกระเด็นใส่ด้วยนะคะ
  • ยึดเครื่องให้อาหารปลาของคุณ จากข้างต้นเราไกด์วิธีวางเครื่องให้อาหารปลาในตำแหน่งที่เหมาะสมไปแล้ว และอีกสิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้ามคือการยึดตัวเครื่องให้แข็งแรง หากเป็นเครื่องให้อาหารปลาขนาดเล็ก มักมีฐานที่มีตัวติดตั้งแบบหนีบ แบบสกรูหมุน หรือแบบกาวติดกระจกมาให้อยู่แล้ว คุณเพียงหาตำแหน่งที่เหมาะและติดตั้งอย่างแน่นหนา ลองตรวจสอบด้วยการใส่อาหารลงไปเล็กน้อยและลองขยับดูเพื่อให้มั่นใจว่าน้ำหนักเครื่องและอาหารปลาไม่หนัหกเกินไปจนทำให้ฐานพัง และสำหรับเครื่องให้อาหารปลาขนาดใหญ่ที่มันติดตั้งข้างบ่อ เราขอแนะนำให้คุณยึดเครื่องติดกับแท่นวางอย่างมั่นคง โดยอาจจะยิงน็อตหรือตอกตะปูเข้ากับที่ยึดที่จะแถมมากับตัวเครื่องค่ะ
  • ทดสอบก่อนไปเที่ยวพักผ่อน หากคุณมีธุระนอกบ้านหลายวัน แม้จะมีเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติแล้ว ก็อย่าลืมทำการทดสอบเครื่องทั้งในเครื่องของปริมาณอาหารที่จะให้แต่ละรอบและเวลาในการตั้งค่าว่าตรงหรือไม่ และที่สำคัญหากเป็นแบบใส่ถ่านก็อย่าลืมตรวจสอบว่าถ่านยังไม่หมด หากเป็นแบบ Wifi ก็ไม่ลืมที่จะทดสอบระบบและสัญญาน Wifi นอกจากนี้ปริมาณอาหารที่จะใส่ไว้ในถังเก็บอาหารก็ต้องเพียงพอต่อระยะเวลาที่คุณไม่อยู่บ้านด้วยค่ะ
Fish Feeder

คำถามและคำตอบ

อาหารปลาใด ๆ จะทำงานร่วมกับเครื่องให้อาหารอัตโนมัติหรือไม่


จริง ๆ แล้วเครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัตินี้ ออกแบบมาเพื่อการใช้งานกับอาหารเม็ด เพราะอาหารเม็ดส่วนใหญ่จะอบแห้งและน้ำหนักน้อย ทำให้เหมาะกับตัวเครื่องและวัสดุ 
นอกจากนี้ถังเก็บอาหารแต่ละแบบมักออกแบบมาเพื่อป้องกันความชื้นและการเกิดเชื้อรา หากคุณเปลี่ยนไปใส่อาหารแบบอื่นหรือน้ำ จะทำให้ถังเก็บอาหารมีความชื้น และเมื่อนำมาให้งานกับอาหารเม็ดอีกครั้งอาจจะใช้งานได้ดีเท่าที่ควรค่ะ

Photo of author

Ratanaporn

รัตนาภรณ์เป็นคนรักสัตว์เลี้ยงที่เติบโตขึ้นมาในฟาร์มพ่อแม่ของเธอในภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันเธออาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ และเขียนรีวิวผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง รัตนาภรณ์ประสบความสำเร็จในธุรกิจดูแลสุนัขด้วยความรักสัตว์