รีวิว 5 แบรนด์เครื่องวัดความดันโลหิตคุณภาพเยี่ยมที่ควรมีในปี 2023

เครื่องวัดความดัน เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ ที่สามารถบ่งบอกได้ถึงอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการเต้นของชีพจร โดยที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ค่าที่บอกว่าหัวใจของเราทำงานปกติหรือไม่เท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นสัญญานที่สามารถใช้ตรวจสอบความผิดปกติของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้นเราจึงเห็นว่าหลาย ๆ บ้านที่มีคนที่เป็นโรคประจำตัวหรือบ้านที่มีผู้สูงอายุ

มักจะมีเครื่องวัดความดันติดไว้ที่บ้าน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะใช้ตรวจสอบร่างกายว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพื่อที่จะได้รักษาอย่างทันท่วงทีนั่นเองค่ะ ซึ่งหากใครที่กำลังมองหาเครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี ในบทความนี้ เราก็ได้รวบรวมทั้งวิธีในการเลือก วิธีการใช้งาน การอ่านค่าเครื่องวัดความดัน และยังแนะนำเครื่องวัดความดันประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมมาให้ได้เลือกกันอีกด้วยค่ะ

5 เครื่องวัดความดัน

1. ใช้งานง่าย: OMRON Blood Pressure Monitor HEM-8712 Lazada/Shopee
2. จอภาพและผ้าพันแขนในหนึ่งเดียว
OMRON – HEM-6232T Lazada/Shopee
3. การอ่านรหัสสีที่ดีที่สุด: BP Sure – KF65B Plus Lazada /Shopee
4. ราคาประหยัด LCD หน้าจอใหญ่Lifebox L-BM01 Lazada/Shopee
5. ระบบเสียงพูดภาษาไทย: ALLWELL BSX-593 Lazada/Shopee

เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดีปี 2023

1. OMRON – HEM-8712

เครื่องวัดความดัน ใช้งานง่าย

ข้อดี
  • มีการแจ้งเตือนเมื่อวัดต้นแขนได้ถูกต้องแล้ว
  • สายรัดต้นแขนไม่รัดแน่นจนอึกอัด
  • มีสัญลักษณ์แสดงเมื่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • มีสัญลักษณ์แสดงเมื่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
ข้อเสีย
  • ไม่มีหน่วยความจำ สามารถบันทึกได้เพียงค่าล่าสุด

เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยี Intellisense ในการทำงาน ถือเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้ทั้งในบ้านและพกพาไปนอกสถานที่ได้ด้วย เพราะรุ่นนี้ใช้ถ่าน AA เพียง 4 ก้อน ก็สามารถใช้งานได้มากถึง 1000 ครั้ง ทั้งยังเป็นแบบสายรัดต้นแขนที่ไม่ต้องเติมลม ทำให้ผู้ใช้งานไม่รู้สึกอึดอัด สามารถใช้งานได้แม้คนที่ไม่มีทักษะในการใช้เครื่องมาก่อน เพราะจะมีสัญญานแจ้งเตือนเมื่อรัดสายได้อย่างถูกต้อง

ในส่วนของการแสดงผลนั้นจะมีค่าความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจระบุบนหน้าจอ ทั้งยังมีการแจ้งเตือนเมื่อความดันสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน แต่จะมีข้อสังเกตที่ไม่มีหน่วยบันทึกความจำมาให้ ทำให้ไม่สามารถทำการเปรียบเทียบกับการการวัดความดันครั้งก่อนหน้าหลาย ๆ รอยได้ค่ะ

2. OMRON – HEM-6232T

จอภาพและผ้าพันแขนในหนึ่งเดียว

ข้อดี
  • มีการแจ้งเตือนเมื่อวัดข้อมือได้ถูกต้องแล้ว
  • สายรัดข้อมือไม่รัดแน่นจนอึดอัด
  • มีสัญลักษณ์แสดงเมื่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวได้
  • ใช้งานได้ 2 คน
  • บันทึกข้อมูลได้สูงสุด 200 ครั้ง
  • เครื่องทำงานเงียบ
ข้อเสีย

หากคุณกำลังมองหาเครื่องวัดความดัน แบบไหนดี ที่ใช้งานง่าย มีขนาดกะทัดรัด และเหมาะกับผู้ใช้งานที่ไม่ได้มีทักษะในการใช้เครื่องมือมากนัก แนะนำเป็นเครื่องวัดความดันรุ่นรัดข้อแขนจาก OMRON  รุ่น HEM-6232T เลยค่ะ เพราะ ไม่เป็นแบบสายรัดที่ข้อมือที่แม้ผู้จะงานจะเป็นผู้สูงอายุหรือเป็นผู้ป่วยที่ขยับตัวได้ไม่คล่องแคล่ว ก็สามารถทำการวัดความดันได้ด้วยต้นเอง มาพร้อมฟังก์ชันในการช่วยแจ้งเตือนเมื่อรัดได้อย่างถูกต้อง

และการสัญญานบ่งบอกเมื่อความดันโลหิตเกินกว่ามาตรฐาน รุ่นนี้ยังออกแบบมาให้ใช้งานได้กับผู้ใช้งาน 2 คน โดยจะสามารถแบ่งการบันทึกค่าได้ด้วย มีหน่วยความจำที่บันทึกค่าได้สูงสุด 200 ครั้ง ใช้ถ่าน AAA เพียง 2 ก้อน ก็สามารถใช้งานได้ถึง 300 ครั้ง ในส่วนของหน้าจอยังแสดงสัญลักษณ์ต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ทั้ง ค่าความดันโลหิต ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ ผู้ใช้งาน และเวลาอีกด้วยค่ะ

3. BP Sure – KF65B Plus

การอ่านรหัสสีที่ดีที่สุด

ข้อดี
  • แยกใช้งานได้ 2 คน
  • แจ้งเตือนเมื่อร่างกายเคลื่อนไหว
  • บันทึกข้อมูลได้สูงสุด 384 ครั้ง
  • ใช้พลังงานทั้งจากถ่านและเสียบชาร์จไฟบ้าน
  • เมนูเสียงภาษาไทย ใช้งานง่าย
  • ปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ใช้งานนาน 3 นาที
  • รับประกันนาน 5 ปี
ข้อเสีย

เครื่องวัดความดัน BP Sure เป็นเครื่องมือที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ในความถูกต้อง แม่นยำของข้อมูล โดยเป็นแบบสายรัดชข้อแขน ที่สามารถแจ้งเตือนเมื่อร่างกายมีการเคลื่อนไหวขณะวัดได้ด้วย ตัวเมนูการใช้งานและเสียงเป็นภาษาไทย

ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่ายและยังมีไฟแสดงสถานะของความดันโลหิตแบ่งออกเป็น สีเขียวเมื่ออยู่ในสถานะปกติ สีเหลืองเมือ่ค่าความดันเริ่มไม่ปกติ และสีแดงเมื่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจสูงหรือต่ำกว่าปกติจนอันตรายอีกด้วย รุ่นนี้สามารถใช้พลังงานได้ทั้งจากถ่ายไฟฉายและการชาร์จไฟบ้านผ่านสาย USB ทั้งยังแยกผู้ใช้งานได้ 2 คน มีหน่วยบันทึกข้อมูลได้มากถึง 384 ค่าเลยค่ะ

4. Lifebox – L-BM01

เครื่องวัดความดันราคาประหยัด LCD หน้าจอใหญ่

ข้อดี
  • แยกใช้งานได้ 2 คน
  • บันทึกข้อมูลได้สูงสุด 120 ครั้ง
  • แสดงค่าเฉลี่ย 3 ค่าล่าสุด
  • แจ้งเตือนเมื่อมีการเคลื่อนไหวขณะวัด
  • ราคาย่อมเยา
ข้อเสีย
  • ไม่มีฟังก์ชันการแจ้งเตือนการรัดสายรัดที่ถูกต้อง

เครื่องวัดความดัน Lifebox รุ่น L-BM01 ถือเป็นเครื่องวัดความดันคุณภาพดีในราคาย่อมเยา ที่มาพร้อมคุณสมบัติในการใช้งานโดดเด่นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันการแยกใช้งานได้ 2 คน โดยสามารถบันทึกข้อมูลย่อนหลังได้เฉลี่ยคนละ 60 ครั้ง ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และสามารถทำการวัดทั้งความดันและอัตราการเต้นของหัวใจ

สำหรับใครที่ไม่เคยใช้งานเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลมาก่อน ก็ยังไม่ต้องกังวล เพราะใช้งานง่าย เพียงสอดแขนเข้าไปที่สายรัด และทำการกดปุ่ม รอให้เครื่องทำงานและแสดงค่า โดยรุ่นนี้จะแสดงผลค่าเฉลี่ย 3 ค่า ของการวัดความดันล่าสุดได้ เพื่อให้สามารนำมาเปรียบเทียบและเพิ่มความแม่นยำในการวัดได้มากขึ้นค่ะ

5. ALLWELL – BSX-593

เครื่องวัดความดัน ระบบเสียงพูดภาษาไทย

ข้อดี
  • มีเสียงพูดภาษาไทย ใช้งานง่าย
  • มาพร้อมกระเป๋าอุปกรณ์สำหรับพกพา
  • แสดงค่าเป็นสีสัญญาน 3 สี
  • สามารถตั้งปลุกได้
  • แยกใช้งานได้ 2 คน
  • บันทึกข้อมูลได้สูงสุด 198 ครั้ง
  • ใช้พลังงานทั้งจากถ่านและเสียบชาร์จไฟบ้าน
  • รับประกันนาน 3 ปี
ข้อเสีย

หากคุณกำลังมองหาเครื่องวัดความดัน ที่ใช้งานง่ายและเหมาะกับผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยอยู่คนเดียว แนะนำให้เลือกแบบที่เป็นสัญญานไฟแสดงผลจะเหมาะมากกว่าค่ะ ซึ่งรุ่นนี้ก็ยังมาพร้อมระบบการใช้งานเมนูเสียงภาษาไทย ที่ช่วยให้ใช้งานได้ง่านขึ้น ลดความผิดพลาดในขั้นตอนการใช้งาน และผู้สูงอายุยังสามารถทำตามได้ง่าย ๆ อีกด้วย สามารถใช้งานแยกกันได้ 2 คน และเก็บข้อมูลความจำได้มากถึง คนละ 99 ครั้ง

หากคุณกำลังมองหาเครื่องวัดความดัน ที่ใช้งานง่ายและเหมาะกับผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยอยู่คนเดียว แนะนำให้เลือกแบบที่เป็นสัญญานไฟแสดงผลจะเหมาะมากกว่าค่ะ ซึ่งรุ่นนี้ก็ยังมาพร้อมระบบการใช้งานเมนูเสียงภาษาไทย ที่ช่วยให้ใช้งานได้ง่านขึ้น ลดความผิดพลาดในขั้นตอนการใช้งาน และผู้สูงอายุยังสามารถทำตามได้ง่าย ๆ อีกด้วย สามารถใช้งานแยกกันได้ 2 คน และเก็บข้อมูลความจำได้มากถึง คนละ 99 ครั้ง

คู่มือการซื้อเครื่องวัดความดัน

คู่มือการซื้อเครื่องวัดความดัน

สิ่งที่ต้องมองหาในเครื่องวัดความดันโลหิต

หากคุณกำลังมองหาเครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี ที่จะเหมาะสมกับการใช้งาน คุณจำเป็นต้องรู้ถึงคุณสมบัติ รวมถึงวิธีการใช้งานและการอ่านค่าเบื้องต้นของเครื่องวัดความดันเสียก่อน เพื่อที่จะได้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่าที่สุดค่ะ

ความแม่นยำ

ปัจจุบันเครื่องวัดความดันที่ได้รับความนิยมและเหมาะสมกับการเลือกซื้อมาใช้งานที่บ้าน คือเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล นั่นก็เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและยังมีราคาย่อมเยา ทั้งยังไม่ต้องอาศัยทักษะหรือความชำนาญก็สามารถอ่านค่าจากหน้าจอของเครื่องได้โดยตรงเลยค่ะ แต่ข้อควรระวังในการเลือกเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลอันดับแรกเลยคือ เรื่องความเที่ยงตรงแม่นยำของเครื่อง ซึ่งแนะนำว่า เครื่องวัดความดันความต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก. เป็นเบื้องต้น นอกจากนี้หากเป็นเครื่องวัดความดันที่นำเข้าจากต่างประเทศก็ควรมีการรับรองมาตรฐาน CE (European Conformity) หรือเครื่องหมาย UL (Underwriters’ Laboratories) ค่ะ

การจัดเก็บข้อมูล

สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูงหรือต่ำ การที่เราจะวัดความดันแต่ละครั้งนั้นแน่นอนว่าเครื่องอาจจะขึ้นแจ้งเตือน แต่หากเราต้องการอยากทราบว่าความดันโลหิตของเรามีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ปกติมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องมีการเปรียบเทียบจากการวัดเมื่อครั้งก่อนหน้านี้หรือหลาย ๆ ครั้งค่ะ ซึ่งแนะนำว่าหากผู้ที่มีปัญหาดังกล่าว ควรมองหาเครื่องวัดความดัน ที่สามารถบันทึกค่าและทำการเปรียบเทียบกับค่าเดิมได้ จะทำให้ใช้งานได้สะดวกมากกว่าค่ะ ซึ่งความสามารถในการบันทึกข้อมูลของเครื่องแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนจะซื้อก็ต้องไม่ลืมดูคุณสมบัตินี้ด้วยนะคะ

การแสดงข้อมูล

ข้อดีของเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลที่ทำให้เหมาะกับการใช้งานที่บ้าน ก็คือการแสดงข้อมูลที่จะออกมาเป็นค่าตัวเลขง่าย ๆ เพียง 3 ค่า ได้แก่ ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่จะมีหน่วยเป็น mmHg โดยจะมี 2 ค่าได้แก่ ค่าด้านบนที่เป็นค่าสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว และค่าด้านล่างถัดลงมา ที่จะเป็นค่าสูงสุดขณะหัวใจคลายตัว ส่วนค่าด้านล่างสุดคือค่าที่บ่งบอกถึงอัตราการเต้นของชีพจรค่ะ

การใช้งาน

ขั้นตอนในการใช้งานเครื่องวัดความดัน ขึ้นอยู่กับเครื่องวัดความดันแต่ละประเภท ซึ่งจะมีความแตกต่างเรื่องของขั้นตอนในการกดปุ่มหรือการสอดแขน รวมไปถึงตำแหน่งที่ใช้ในการวัดความดัน แต่หลัก ๆ แล้ว จะเน้นที่การเตรียมตัวของผู้วัดความดันมากกว่า โดยสิ่งที่เน้นย้ำมากคือเรื่องของการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิดที่ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ ซึ่งก่อนจะลงมือวัดความดันจริง ๆ แนะนำให้นั่งสบาย ๆ สัก 5 – 10 นาที แล้วจึงเริ่มทำการวัดค่ะ 

คุณสมบัติพิเศษ

หากพูดถึงฟีเจอร์หรือคุณสมบัติของเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลที่เด่น ๆ แล้ว ก็คงไม่พ้นเรื่องของการออกแบบมาให้ใช้งานง่าย สามารถที่จะอ่านค่าได้ผ่านหน้าจอ และบางเครื่องยังสามารถใช้พกพาออกไปนอกสถานที่ได้ เพราะออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา รวมถึงใช้ถ่านไฟฉายเป็นแหล่งจ่ายพลังงาน นอกจากนี้ก็ยังมีเครื่องวัดความดันแบบที่วัดจากข้อแขนที่เหมาะกับคนที่รู้สึกอึดอัดเวลาที่สายรัดบีบต้นแขนอีกด้วยค่ะ

ชื่อเสียงของผู้ผลิต

เชื่อว่าหลายคนที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องงวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี อาจจะยังลังเลเรื่องของความแม่นยำ รวมไปถึงประสิทธิภาพในการใช้งาน ว่าจะคุ้มค่า หรือจะมีความทนทานหรือไม่ เราแนะนำให้เลือกเครื่องวัดความดันที่ผลิตจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือและเป็นที่นิยม อย่าง Omron, BP Sure และ Allwell เป็นต้นค่ะ

วิธีการตรวจสอบความดันโลหิต

จากข้างต้นเราได้แนะนำข้อควรปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนวัดความดันกันไปแล้ว ในส่วนนนี้เราจะมาแนะนำวิธีการใช้งานเครื่องวัดความดันบบดิจิตอล คร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ

  • สอดแขนเข้าไปที่สายรัดแขนและทำการรัดต้นแขนให้พอดี ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป โดยผู้วัดความดันควรนั่งให้แขนเป็นระนาบแนวนอน
  • กดปุ่มที่ตัวเครื่อง และรอจนกว่าเครื่องจะอ่านค่าเสร็จ ระหว่างนี้แนะนำให้ทำใจสบาย ๆ ไม่ต้องกังวลหรือหวาดกลัว เพราะอาจทำให้การวัดค่าคลาดเคลื่อนได้ค่ะ
  • เมื่อเครื่องวัดความดันเสร็จแล้วจะแสดงผลที่หน้าจอ หากเครื่องไหนที่ต้องรอจนกว่าจะมีสัญญานเตือนให้ถอดสายรัด ก็ควรรอ แต่หากไม่มีก็สามารถถอดออกได้เมื่อเครื่องแสดงค่าตัวเลขครบถ้วนค่ะ

วิธีการอ่านเครื่องวัดความดันโลหิต

เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล ออกแบบมาให้ใช้งานและอ่านค่าได้ง่าย ๆ จากหน้าจอโดยตรง โดยเราจะเห็นว่าที่หน้าจอนั้นจะมีตัวเลยอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ ด้านบนสุด มักเป็นตัวเลขที่มีค่ามากที่สุด เรียกว่าค่า SBP (Systolic Blood Pressure) หรือ ค่าความดันโลหิตในขณะที่หัวใจบีบตัว มีหน่วยเป็น mmHg ซึ่งหากความดันปกติไม่ควรมีค่าสูงเกิน 130 mmHg ค่ะ

ตรงกลาง เป็นค่าที่เรียกว่า DBP (Diastolic Blood Pressure) หรือ ค่าความดันโลหิตในขณะที่หัวใจคลายตัว มีหน่วยเป็น mmHg ซึ่งหากความดันปกติไม่ควรมีค่าต่ำกว่า 90 mmHg ค่ะ ค่าด้านล่างสุด เป็นค่าที่เรียกว่า Pulse หรืออัตราการเต้นของชีพจรนั่นเองค่ะ

คู่มือการซื้อเครื่องวัดความดัน

คำถามและคำตอบ

เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านมีความแม่นยำเพียงใด?

แม้จะเป็นเครื่องวัดความดันที่ใช้งานได้ที่บ้าน แต่ค่าที่ได้ก็ค่อนข้างแม่นยำสูงไม่ต่างกับที่โรงพยาบาลมากนักค่ะ ซึ่งยิ่งเลือกเครื่องที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังที่กล่าวไปด้านบน และเป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือแล้ว ก็ยิ่งทำให้มั่นใจได้ว่าค่าจะไม่ผิดเพี้ยนมากจนเกินไป แต่หากใครที่อยากจะได้ค่าที่แม่นยำ เที่ยงตรง เป๊ะ ๆ อาจจะลองอ่านที่คู่มือเครื่อง ซึ่งจะระบุค่าความคลาดเคลื่อนมาให้แล้วก็สามารถนำมาคำนวณได้ว่าเครื่องอ่านค่าคลาดเคลื่อนไปมากน้อยแค่ไหนค่ะ

ทำไมคุณควรตรวจสอบความดันโลหิตของคุณ?

สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรให้ความใส่ใจเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา แน่นอนว่าเราก็ไม่อาจจะทำกิจกรรมหรือกิจวัตรประจำวันได้อย่างสะดวก ดังนั้นการตรวจสอบความผิดปกติของร่างกายเบื้องต้นอย่างการวัดความดันโลหิต ก็ถือว่าจะเป็นด่านแรกที่เราจะใช้ในการพิจารณาว่าควรต้องเน้นการดูแลสุขภาพในเรื่องใด นอกจากนี้เครื่องวัดความดันโลหิตก็ยังมีประโยชน์อย่างมากกับคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวานอีกด้วยค่ะ

Photo of author

Sutthida

สุทธิดามีใจรักในการเขียนและทำอาหาร หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย เธอตัดสินใจหางานทำวารสารศาสตร์ เธอใฝ่ฝันที่จะอาศัยอยู่ริมชายหาดพร้อมระเบียงที่มองเห็นวิวทะเล เธอชอบติดตามผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดียบน Instagram หรือดูรายการทีวีหรือภาพยนตร์ในเวลาว่าง